พระมหาเจดีย์ชัยมงคล


ประวัติย่อ วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม(ผาน้ำย้อย)

สถานที่ตั้ง

         วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย)ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด (ห่างจาก อ.หนองพอก 13 กม. ถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา)

มูลเหตุในการก่อตั้งวัด

         เมื่อปี พ.ศ.2493-2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาเจริญสมถกัมมัฎฐา่นเพื่อแสวงหาความสงบ ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2493-2500 ท่านพระอาจารย์ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์
มาปฏิบัติธรรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้แต่ก่อนเป็นป่าดงดิบสภาพป่าสวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่สาเหตุที่ได้ชื่อว่า

ู่ผาน้ำย้อย เพราะภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตกจากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกินเพื่อรักษาโรคตามความเชื่อ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อโดยสมบูรณ์ว่าวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ครั้นต่อมา สภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบตัดไม้ บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทางราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปรามด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ เพราะพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเป็นคนดีมีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อันจะนำความสงบมั่นคงให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองได้

            ดังนั้นในปี พ.ศ.2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น เพื่อจะได้ใช้สถานแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชนตามหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ท่านได้ปฏิบัติเคร่ง- ครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นหตุผลให้้ความตรึงเครียดทางด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และได้้หมดไปในที่สุด ดังที่ได้เห็นในขณะนี้ และในปีนี้นั้นเอง ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน 5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ของวัดมีประมาณ 28,000 ไร่ และยังได้ปลูกต้นไม้เสริมขึ้นอีก 300,000 ต้น

เสนาสนะและสิ่งสำคัญ

เริ่มพัฒนาปี พ.ศ. 2517-2546
    1. สร้างอ่าง เหมืองฝายเก็บกักน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ข้างล่าง 2 แห่ง และบนเขาอีก 1 แห่ง
     2. สร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
     3. สร้างศาลาหอฉันท์ 2 ชั้น กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร จุพระเณรได้ประมาณ 1,000 รูป
     4. สร้างสำนักงานเลขาพระ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
     5. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร
     6. สร้างตึกรับรองพระเถระ คอนกรีต 2 ชั้น กว้าง 8เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 2 หลัง
     7. สร้างโรงครัว กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 1 หลัง
     8. สร้างที่พักสำนักแม่ชี จำนวน 1 หลัง
     9. สร้างกุฏิกัมมัฎฐาน ข้างล่างและข้างบนเขา จำนวน 700 หลัง
     10.สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม ไว้ 19 แห่ง มีห้องส้วม จำนวน 200 หัอง
     11.สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 เมตร จำนวน 6 ถัง
     12. สร้างถนนขึ้นหลังเขาผาน้ำย้อย (ลาดยาง) ความยาว ประมาณ 10 กม.
     13. สร้า้งพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขนาดใหญ่บนเขาผาน้ำย้อย ขนาดความกว้าง-ความยาว 101 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ 109 เมตร และมีพระเจดีย์ องค์เล็กรองลงมา 8 องค์ รายล้อมทั้ง 8 ทิศ
     14. สร้างวิหารคต เรียงรายรอบองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
     15. สร้างกำแพงเอนกประสงค์ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ฯ ภายในกำแพงมีห้องน้ำ-ห้องส้วม 1,000 ห้อง พร้อมที่พักรอบพระมหาเจดีย์ ยาว 3,500 เมตรสูง 5 เมตร หนา 4 เมตร โครงสร้างคอนกรีต
เสริมเหล็ก
     16. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชบนเขาผาน้ำย้อย 1 ตำหนัก
     17. สร้างตึกรับรองหลวงปู่ บนหลังเขา 1 หลัง
     18. สร้างกำแพงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 เมตร ยาวรอบวัดประมาณ 120 กม. คลุมพื้นที่วัด 28,000 ไร่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
1. พระมหาเจดีย์ัชัยมงคล ตั้งอยู่บนเขาผาน้ำย้อย
     2. ผาน้ำย้อย ซึ่งมีน้ำไหลหยดย้อยตลอดปี
     3. พระประธานที่ศาลาการเปรียญ มีขนาดหน้าตักกว้าง 101 นิ้ว
     4. อ่างเก็ยน้ำห้วยพุเตย น้ำตกคำช้างจ๊าก คำยู้ซ้าว
     5. หน้าผาบนเขาผาน้ำย้อย เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยบริเวณวัดผาน้ำทิพย์วนาราม ได้แวดล้อมไปด้วยหมู่ไพรพฤกษ์นานาพันธุ์ ทั้งอุงแอ่ง แก่งน้ำ ก็จัดสรรไว้โดยธรรมชาติ คือ มีน้ำซึมซับไหลตลอดปีเป็นทั้งอ่าง แอ่ง เหมือง ฝาย มีมากทั้งต้นไม้ทั้ง ดอกไม้ ผัก ซึ่งปลูกให้เจริญงอกงามเขียวขจีได้โดยง่ายภายในบริเวณวัด จึงดูเงียบสงบ ร่มรื่น บรรยากาศอบอวลไปด้วยลมพัด เย็นสบาย โชยชุ่มชื่นไม่ขาดสาย เสียงหริ่งเรไร ตลอดจนเสียงวิหกกล่อมไพร มีให้ได้ยินอยู่ทุกทิวาราตรี ตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไป         

         หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านให้ความสำคัญแก่วัดผาน้ำทิพย์นี้ไม่น้อยไปกว่าวัดป่ากุง สำนักใหญ่ที่อำเภอศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด จึงได้จัดให้มีการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขึ้นไว้เป็นปูชนียสถานถาวร
พร้อมกันนั้นท่านก็ได้เมตตา มอบหมายให้พระภิกษุผู้เป็นศิษย์ที่หลวงปู่ไว้ใจที่สุดมาดูแลแทนท่าน ในระหว่างที่มีการก่อสร้างองค์พระมหาเจดีย์นี้หลวงปู่ศรีีมหาวีโร ได้มอบความรับผิดชอบไว้กับพระอาจารย์ ทองอินทร์ กตปุญฺโญ พระคุณเจ้า ผู้ทรงคุณธรรม เมตตาธรรม และปัญญาบารมีสูงท่านหนึ่ง ให้มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนหลวงปู่ ซึ่งขณะเดียวกัน ก็ได้รับตำแหน่งอำนวยการ จัดการ ตลอดจนการควบคุมงานก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด เช่น งานก่อสร้าง พระมหาเจดีย์ สร้างวิหารคต สร้างกำแพงล้อมรอบ พระมหาเจดีย์ ให้เป็นไปตามรูปแบบ ความถูกต้อง สวยงาม และให้เสร็จตามกำหนด โดยท่านได้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
         ในระยะต่อมา องค์หลวงปู่ย่างเข้าสู่วัยชรามากขึ้น พระอาจารย์อินทร์ กตปุญฺโญ ได้รับเมตตาจากองค์์หลวงปู่ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนท่าน เช่น กิจนิมนต์ การดูแลคณะสงฆ์วัดสาขาต่าง ๆ และการอำนวยการสร้างกำแพงล้อมรอบพระมหาเจดีย์ชัยมงคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่สนองบุญคุณขององค์หลวงปู่ มิให้ขาดตกบกพร่อง และเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของท่านพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญโญ ได้มอบหมายให้อาจารย์มณี ธมฺมรังษีพระภิกษุลูกศิษย์ขอวท่านมีความรู้ความสามารถ ท่านหนึ่งที่ท่านไว้ใจ รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนารามแทนท่านจนถึงปัจจุบัน

ปฐมเหตุการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล

        เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 อันเป็นวันรวมกฐินสามัคคีของวัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ในวันนั้นพระคุณเจ้าพระราชสังวรอุดม(หลวงปู่ศรี มหาวีโรเมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมสังวรวิสุทธิเถระ)ได้ปรารภกับที่ประชุมสงฆ์ศิษยานุศิษย์ว่า "ได้รับพระบรมสารีริกธาตุเป็นกรณีพิเศษ และได้พิจารณาเห็นว่า ครูบาอาจารย์สายอีกสาน์ ผู้มีความรู้ระดับสูง ระดับ นักปราชญ์ และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติท่านได้ ทำคุณประโยชน ให้แก่ประเทศชาติ และพระศาสนาเป็นจำนวนมาก สมควรก่อสร้างถาวรวัตถุสำหรับ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานไว้้เป็นการพิเศษในสถานที่เป็นศูนย์กลางเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใคร่มาศึกษาและสักการะบูชาสืบไป"
         ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรก่อสร้างพระมหาเจดีย์ที่วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม(ผาน้ำย้อย) และได้นำมติดังกล่าวไปหารือที่ประชุมสังฆาธิการภาค 8 ,9, 10, 11, (ธรรมยุติ)ซึ่งได้ให้้ความเห็นชอบด้วย

กำแพงปฐมเหตุการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล

  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ โดยมี พลเอก ชวลิต   ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก และรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด(ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานกรรมการก่อสร้าง และเป็นประธานยกเสาเอก หลังจากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา โดยอาศัยแรงศรัทธา จากชาวพุทธทั่วสารทิศ รวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงได้เป็น พระมหาเจดีย์ชัยมงคลขึ้นมา ให้เราได้กราบไหว้บูชา  
           ในปี พ.ศ.2540 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานที่องค์ ์พระมหาเจดีย์ 3 วาระ โดยในวาระที่ 3 เป็นกรณีพิเศษ คือ ทางรัฐบาลประเทศศรีลังกาโดยสมเด็จพระสังฆราชศรีลังกา ได้เสด็จอัญเชิญพระบรมสารีริกธาต มาประ ดิษฐานที่องค์พระมหาเจดีย์์ด้วยพระองค์เอง 
เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 อันเป็นวันรวมกฐินสามัคคีของวัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ในวันนั้นพระคุณเจ้าพระราชสังวรอุดม(หลวงปู่ศรี มหาวีโรล้อมรอบพระมหาเจดีย์ชัยมงคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่สนองบุญคุณขององค์หลวงปู่ มิให้ขาดตกบกพร่อง และเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของท่านพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญโญ ได้มอบหมายให้อาจารย์มณี ธมฺมรังษีพระภิกษุลูกศิษย์ขอวท่านมีความรู้ความสามารถ ท่านหนึ่งที่ท่านไว้ใจ รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนารามแทนท่านจนถึงปัจจุบัน

พระมหาเจดียชัยมงคล มี 6 ชั้น ดังนี้.-


พระมหาเจดียชัยมงคล ชั้นที่ 1

          เมื่อเดินผ่านประตูเข้าไปในบริเวณชั้นที่ 1 จะพบเห็นว่าเป็นห้องโถงเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ ตามผนังของห้องโถงจะมีภาพสีบนกระจก ล้อมรอบด้วยภาพแกะสลักรูปลายกนกไทย อยู่ตามผนัง และบานหน้าต่างทุกด้าน และมีผนังส่วนหนึ่งใช้สำหรับเป็น พื้นที่จารึกชื่อผู้บริจาคทอดผ้าป่า 84,000 กองที่ใช้เป็นทุนแรกเริ่มการก่อสร้างตรงกลางห้องโถง จะมีรูปหล่อขนาดใหญ่ของ หลวงปู่ศรี มหาวิโร ประดิษฐานอยู่ รอบ ๆ รูปหล่อเต็มไปด้วยเครื่องสักการะนานาชนิดจำนวนมาก

ข้อปฏิบัติในการขึ้นไปนมัสการองค์พระมหาเจดีย์

     1. ถอดหมวก ถอดรองเท้า

     2. อย่าส่งเสียงดัง ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นบนเจดีย์

     3. กรุณาอย่าจับต้องลวดลายต่าง ๆ

     4. ไม่นำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ขึ้นไปรับประทานบนพระมหาเจดีย์

     5. กรุณาทิ้งขยะในที่เตรียมไว้ให้

     6. ห้ามจูดธูป-เทียนในองค์พระมหาเจดีย์

     7. กรุณาแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

     8. ห้ามสูบบุหรี่ และเสพของมึนเมา 


พระมหาเจดียชัยมงคล ชั้นที่ 2

          สำหรับชั้นที่ 2 นี้ ใช้สำหรับเป็นที่ประชุมสงฆ์ สามารถบรรจุพระสงฆ์ได้ถึง 2,000-3,000 รูป ในชั้นนี้ี่มีพระพุทธ รูปขนาดใหญ่อยู่ ตรงกลาง รอบผนังจะเป็นภาพพุทธประวัติ และทศชาติชาดก(อยู่ระหว่างก่อสร้าง) พระประธานประจำชั้น 2คือ พระพุทธรูปปางเทศนาสีดำขนาดใหญ่ที่สุด ในองค์พระมหาเจดีย์ รูปแบบอินเดีย การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ


พระมหาเจดียชัยมงคล ชั้นที่ 3

          เมื่อเดินขึ้นมาในบริเวณชั้นที่ 3 จะเห็นว่า การก่อสร้าง เกือบจะแล้วเสร็จ 100 % เต็มแล้ว พระประธานของชั้นนี้ เป็น พระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง 101 นิ้้ว ด้านล่างพระประธาน คือ รูปปั้น พระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ขนาดเท่าองค์จริง รอบผนังเป็นรูปปั้นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรอบฟ้าเมืองไทย เสาด้านในสุด 8 ต้น สลักลวดลายเทวดา 8 องค์ มีบันไดขึ้นไปชั้น 4 หนึ่งทาง


พระมหาเจดียชัยมงคล ชั้นที่ 4

          เมื่อเดินขึ้นมาในบริเวณชั้นที่ 4 ก็จะเห็นว่า การก่อสร้าง เกือบจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในชั้นนี้ไมใช่ห้องโล่ง ตรงกลางจะเป็นชั้น 3 ซึ่่งทำลูกกรงสามารถมองทะลุลงไปเห็นชั้น 3 ได้ และที่พิเศษ ก็คือ สามารถเดินออกไปชมวิวด้านนอก เป็นจุดชมวิวเห็นรอบบริเวณภูเขาูเขียวรอบ ที่ตั้งวัดได้


พระมหาเจดียชัยมงคล  ชั้นที่ 5

          บริเวณชั้นที่ 5 เป็นชั้นพิพิธภัณฑ์ รวบรวมเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ศรี มหาวิโร มาประดิษฐานไว้ บริเวณผนังรอบ ๆ จะบรรจุอัฐิธาตุ ของพระเกจิอาจา่รย์์ในสาย สุปฏิสัมปัณโณ จำนวนทั้งหมด 45 ช่อง 

        ส่วนบริเวณผนังรอบนอกชั้นที่ 5 เป็นพระพุทธรูปต่าง ๆ 4 ปาง ได้แก่...ปางประทานพร ปางห้ามญาติ ปางลีลา และปางห้ามสมุทร 

        ภายในชั้นนี้จะเป็นห้องโถง เหมือนอยู่ในระฆังที่ คว่ำลง มีเสา 4 ต้นตรงกลาง เสาหนึ่งจะมีบันไดวน เพื่อขึ้น-ลง ไปชั้นที่ 6

ช่องสำหรับบรรจุอัฐิธาตุ
ของพระเกจิอาจา่รย



ทางขึ้น-ลง ไปชั้นที่ 6



บริเวณผนังรอบ ๆ จะบรรจุอัฐิธาตุ
ของพระเกจิอาจา่รย์

นี่ก็รูปมุมเพดานอีกรูปหนึ่ง

ภาพเพดานชั้น 5

ภาพลายสลักตามเสากลางห้องโถง ชั้นที่ 5

ทางขึ้น-ลง ชั้นที่ 6

เสาสลักลวดลายเทวดารอบทิศในชั้นที่ 5

ทางขึ้น-ลง ชั้นที่ 6(รูปมุมสูง)

รูปหล่อพญานาค ทางขึ้น-ลง ชั้นที่ 6

ทางขึ้น-ลง ชั้นที่ 6

พระมหาเจดียชัยมงคล ชั้นที่ 6

          ชั้นที่ 6 เป็นห้องโถงประดิษฐานสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ภายในจะมียอดฉัตรทั้งหมด 8 องค์ ซึ่งเป็นอัฐิธาตุพระสาวกขององค์ สัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนล่างสุดจะบรรจุอัฐิธาตุของพระเกจิอาจารย์ ส่วนผนังจะเขียนภาพของเทวดา นางฟ้า ประกอบส่วนยอดของพระมหาเจดีย์ เป็นสถูปรูประฆังตรงยอดเป็นฉัตรทองคำแท้บริสุทธิ์ นำ้หนัก 4,750 บาท มูลค่า 23 ล้านบาท

           บันไดจากชั้น 1 ถึงชั้นที่ 2 จำนวน 44 ขั้น ชั้นที่2 ถึงชั้นที่ 3 จำนวน 48 ขั้น ชั้นที่ 3 ถึงชั้นที่ 4 จำนวน48 ขั้น ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 5 จำนวน 24 ขั้น และชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 6 จำนวน 19 ขั้น รวมทั้งหมด 283 ขั้น

สถูปสำหรับบรรจุอัฐิธาตุ
ของพระเกจิอาจา่รย



ภายในจะมียอดฉัตรทั้งหมด 8 องค์ ซึ่งเป็นอัฐิธาตุพระสาวกขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า




ภาพบรรยากาศนักท่องเที่ยวชาวพุทธ
จากทั่วสารทิศที่มานมัสการพระบรมสารีริกธาตุ

ภาพอีกมุมหนึ่งของสถูปบรรจุอัฐิธาตุ
พระบรมสารีริกธาต


คำกล่าวนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ

ภาพผนังห้องโถงชั้นที่ 6


ภาพเครื่องสักการะรอบ ๆ สถูป

รูปรุกขเทวดา และนางอัปสรในท่าต่าง ๆ



รูปปั้นเทวดาแกะสลักติดผนังระหว่างหน้าต่าง
ของห้องโถงชั้นที่ 1



รูปปั้นเหมือน หลวงปู่ศรี มหาวิโร ความสูง 3 เมตร
30 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ตรงกลางห้องโถง


รูปสลักพระพุทธรูปปางค์สมาธิ
ที่ผนังห้องโถง

เสาค้ำยันของชั้นที่ 1
ที่ประดับประดาไปด้วยลายแกะสลัก

ภาพแกะสลักตามขื่อห้องโถงใหญ่

รูปช้างแกะสลักประดับข้าง
รูปหล่อหลวงปู่ศรี มหาวิโร

ภาพขื่อห้องโถงใหญ่ ของชั้นที่ 1

ภาพตรงทางขึ้นไปชั้นที่ 2 พระมหาเจดีย์

ภาพแกะสลักต้นเสาของห้องโถง ชั้นที่ 2

 บริเวณห้องโถงชั้นที่ 2 (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

ตามภาพ จะเห็นพระพุทธรูปปางเทศนาิ
สีดำขนาดใหญ่ที่สุดในองค์พระมหาเจดีย์


พระพุทธรูปองค์รอง ประดิษฐานข้่าง พระพุทธรูปองค์ใหญ่

ภาพแกะสลักลายไทย
ตามเสาของห้องโถง

ภาพแกะสลักตามขื่อ
ของห้องโถง ชั้นที่ 2

ภาพแกะสลักตามเสา
ของห้องโถง (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

เสาสลักลวดลาย
รูปรุกขเทวดา 8 องค์



ทางขึ้น-ลง ชั้นที่ 3



พระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง 101 นิ้ว

รูปหล่อพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต

รูปปั้นพระเกจิอาจาย์ชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย
ตรงบริเวณรอบ ๆ ผนัง

ภาพแกะสลักตามขื่อกลางห้อง

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และเครื่องสักการะ
รอบพระประธาน(ด้านซ้าย)

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และเครื่องสักการะ
รอบพระประธาน(ด้านขวา)

รูปปั้นพระเกจิอาจาย์ชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย
ตรงบริเวณรอบ ๆ ผนัง(มุมไกล)

ภาพแกะสลักตามเสาบริเวณห้องโถงชั้นที่ 3

ประตูทางออกไประเบียงชั้นที่ 3 ของพระมหาเจดีย์

ภาพแกะสลักตามขื่อบริเวณทางขึ้นไปชั้นที่ 4

ทางขึ้น-ลงไปชั้นที่ 4 ของพระมหาเจดีย์

พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
บริเวณด้านนอกของ ชั้นที่ 4



ระเบียงทางเดินด้านในของ ชั้นที่ 4



เพดานกระจกเขียนลายสีรดน้ำ
บริเวณระเบียงทางเดินด้านใน ของชั้นที่ 4

รูปปั้นพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต

รูปปั้นพระเกจิอาจาย์ชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย
ตรงบริเวณรอบ ๆ ผนัง

ภาพฐานพระมหาเจดีย์บริเวณจุดชมวิว ชั้นที่ 4

ภาพนักท่องเที่ยว บริเวณจุดชมวิว

ภาพฐานพระมหาเจดีย์บริเวณจุดชมวิวอีกมุมหนึ่ง

ภาพถ่ายพระมหาเจดีย์จากบริเวณจุดชมวิว

ภาพถ่ายพระพุทธจากจุดชมวิวด้านนอก ชั้นที่ 4

ภาพถ่ายลงไปทางเข้าด้านหน้าจากจุดชมวิว

ภาพถ่ายลงไปทางเข้าด้านหน้า
จากจุดชมวิวอีกมุมหนึ่ง

ภาพถ่ายด้านหลังพระมหาเจดีย์จากจุดชมวิว
ซึ่งจะมองเห็นภูเขาเขียวโดยรอบ




Comments